วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในอเมริกา: การวิเคราะห์ช่วงเวลาหลังโควิด
Aug 5, 2024
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที
0
0
0
ในขณะที่โลกยังคงพยายามฟื้นตัวจากผลกระทบของวิกฤติ COVID-19 ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ (Healthcare)ในสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับปัญหาเรื้อรังอย่างการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นเนื่องจากวิกฤติ COVID-19 ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาชั่วคราว หากแต่เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกซึ่งคุกคามความมั่นคงของธุรกิจการแพทย์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลกระทบต่อสุขภา พจิต
จากผลโพลล์สำรวจร่วมโดย Kaiser Family Foundation และ Washington Post เผยถึงข้อมูลที่น่าตกใจอย่างผลกระทบอันรุนแรงต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ โดยประมาณ 60% ของบุคลากรรายงานว่าความเครียดที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น เกือบ 30% ของบุคลากรเคยพิจารณาที่จะลาออกจากอาชีพทางการแพทย์โดยสิ้นเชิง สถิติเหล่านี้เน้นย้ำถึงความรุนแรงของภาวะหมดไฟและความเครียดที่เกิดจากการทำงานหนักและสภาพแวดล้อมการทำงานที่กดดันเป็นเวลานาน
การจ้างงานในโรงพยาบาลที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
สมาคมโรงพยาบาลในอเมริการายงานว่าตัวเลขการจ้างงานในโรงพยาบาลตกลงอย่างรวดเร็ว โดยเสียตำแหน่งงานเกือบ 94,000 ตำแหน่งไปตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2020 ช่วงสิงหาคม 2021 ถึงกันยายน 2021 มีตำแหน่งงานลดลงไปมากกว่า 8,000 ตำแหน่ง กราฟด้านล่างแสดงถึงตัวเลขการจ้างงานในโรงพยาบาลตกลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
อัตราการหมุนเวียนสูงในแผนกจำเป็น
อัตราการหมุนเวียน (turnover rates) โดยเฉพาะในแผนกที่มีความกดดันสูง เช่น แผนกฉุกเฉิน และ แผนกผู้ป่วยหนัก มีอัตราสูงขึ้นจาก 18% ไปสู่ 30% อัตราการหมุนเวียนที่สูงทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องและส่งผลให้ความเครียดด้านการดำเนินงานและการเงินของโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ต้องจ้างงานและอบรมพนักงานใหม่ตลอดเวลาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและดูแลผู้ป่วยได้ไม่ต่อเนื่อง
การจัดการกับภาวะวิกฤติ
การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังคงดำเนินอยู่ต้องการแนวทางแ ก้ไขที่ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับแรงงานทางการแพทย์ กลยุทธ์นั้นไม่เพียงมุ่งเน้นการสรรหาพนักงานใหม่เท่านั้น แต่ยังต้องรักษาพนักงานที่มีอยู่เดิมโดยการปรับปรุงสภาพการทำงาน การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต และการให้ค่าตอบแทนที่เพียงพอ
ในขณะที่ความต้องการด้านการแพทย์ยังคงเพิ่มขึ้น ความจำเป็นในการมีบุคลากรการแพทย์ที่แข็งแกร่งไม่เคยมีความสำคัญมากเท่านี้มาก่อน ผู้กำหนดนโยบาย สถาบันการแพทย์ และชุมชนในวงกว้างต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขวิกฤตนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ระบบการแพทย์สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้
ที่มา: HR เพื่อสุขภาพ